ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของ หนู

หนู เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กมี 4 เท้า รูปร่างทรงกระบอก ลำตัวและส่วนหัวมีขนปกคลุมตลอดดวงตากลม ใบหูใหญ่ บริเวณจมูกและปากมีขนพิเศษยื่นยาวออกมาเห็นเด่นชัด มีหางยาวเท่ากับหรือยาวกว่าความยาวหัวรวมลำตัว มักมีเกล็ดละเอียดและอาจมีขนสั้นอยู่ประปราย ขาหน้าเล็กมี 4 นิ้ว ส่วนขาหลังใหญ่กว่าและมี 5 นิ้ว หนู เป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้เร็วและเกือบตลอดปี ปกติหนูเติบโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 2 เดือน ขึ้นไประยะเปนสัด (estrus cycle) ในหนูเพศเมียประมาณ 4-8 วัน และยอมรับการผสมพันธุ์จากหนูเพศผู้เฉพาะ

nrat cycleช่วงที่เป็นสัดเท่านั้น เพศเมียตั้งท้องนาน 20-23 วัน และออกลูกครอกละหลายตัว หลังคลอดลูกแล้ว 24ชั่วโมง แม่หนูสามารถรับการผสมพันธุ์ได้ทันที ดังนั้น ในปีหนึ่ง ๆ หนูจะออกลูกได้หลายครอก และมีการคำนวณว่าในเวลา 1 ปี หนู 1 คู่ สามารถขยายพันธุ์รวมกันได้มากกว่า 1,000 ตัว อย่างไรก็ตาม ประชากรของหนูในธรรมชาติจะไม่เพิ่มขึ้นมากจนเกินไป เพราะปริมาณหนูจะถูกควบคุมด้วยปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย ศัตรูธรรมชาติ เชื้อโรค ฯลฯ

ลูกหนูที่เกิดใหม่ ลำตัวเป็นสีแดง ส่วนตาและใบหูพับปดสนิท ขนเริ่มขึ้นเมื่ออายุ 2-4 วัน มีขนขึ้นเต็มตัวและหูได้ยินเสียงเมื่ออายุ 8-12 วัน ตาเเปิดเมื่ออายุ 14-17 วัน ลูกหนูอายุ 3 สัปดาห์ จะเริ่มหย่านม และกินอาหารแข็ง ๆ เมื่ออายุ 1 เดือน อายุ 2-3 เดือน หนูจะโตเต็มวัยพร้อมผสมพันธุ์ได้และออกจากรัง อย่างไรก็ตาม ลูกหนูสามารถเรียนรู้อันตรายจากเหยื่อพิษและกับดักที่แม่ของมันประสบมา จึงทำให้ลูกหนูหลีกสิ่งอันตรายเหล่านี้ได้